สวัสดีคร้าบบเพื่อนๆทุกคน
ไม่ได้เจอกันนานมาก ว่างเว้นรีวิวไปร่วมเดือนคิดถึงจริงๆ
วันนี้อยากจะพาทุกๆคนมาเที่ยวกับรีวิวแรกของปีของone22กันครับ…
ทริบนี้ ถือเป็น ทริบมาหาบุญ(ไม่ได้สะกดผิด มาหาจริงๆครับ ^ ^)ของชาวพุทธเราอย่างที่จั่วหัวไว้ กับ มัณฑะเลย์ (Mandalay) พม่า (Myanmar)
ประเทศที่พึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวทั่วไปได้เข้าไปกัน(แบบไม่ยุ่งยาก)ไม่ถึง 3 ปี และอย่างที่คุณๆหรือผมอาจจะเคยผ่านตาจากรีวิว ประเทศพม่า มาบ้าง หรือจากรายการทีวีต่างๆที่พยายามพาคุณไปรู้จัก ประเทศพม่า ในมุมต่างๆ
หนนี้จึงเป็นโอกาสของ one22แล้วครับ ที่ได้รับเชิญร่วมไปกับทริบพิเศษนี้กับ บางกอกแอร์เวย์ (Bangkok Airways) ที่ขนสื่อไปเปิดทริบกันหลายสิบชีวิต one22 เป็นบล็อกเล็กๆที่ยังอุตส่าห์ได้รับเกียรติไปเปิดเมืองนี้ด้วยกัน แถมมีเพื่อนนักรีวิวไปด้วยกันอีก 2 ชีวิต คือ ” นายฟ้าใส “และ ” Paksabuy ” สอง Blogger ชื่อดังห้องบูลแพลนเน็ตถือเป็นเกียรติ์ที่ได้ร่วมทริบกับทั้งสองท่านนะครับ เอาล่ะไม่ต้องเสียเวลากันแล้วผมขอเชิญเพื่อนๆทุกคน
มาร่วมเปิดใจ เปิดตา ไปกับเมืองแห่งศรัทธาของพุทธศาสนาที่ ชาวพุทธทุกคนสมควรได้ไปเยือนสักครา…ไปด้วยกันคร้าบ
เดินทางยังไง…นับหนึ่งที่สุวรรณภูมิ
หนนี้เนื่องจากเป็นทริบที่ทางบางกอกแอร์เวย์ จัดพาสื่อทั้งหลายบินเหิรฟ้าไปเปิดเส้นทางการท่องเที่ยวของเมือง มัณฑะเลย์ ทางบางกอกแอร์ สามารถบินตรงจากกรุงเทพฯสู่เมืองมัณฑะเลย์ได้ถึง 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์
ทำให้เราสะดวกมาก บินไฟล์เวลาสบายๆ ไม่ต้องดิ้นรนตื่นเช้ามาก ใช้เวลา 1.50 นาที ออกจากกรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ 12.05 ถึงมัณฑะเลย์ 13.25 น. และ เที่ยวกลับ 14.15 ถึง กรุงเทพฯ 16.40 น.
ดูเวลาอาจจะงง ที่หากนับนิ้วกันดูมันยังไงก็ไม่ถึง 1.50 นาที ที่เป็นแบบนั้นเพราะพม่าช้ากว่าเรา 30 นาทีนั้นเองครับ หากอยากรู้ว่าเค้าบินวันไหนบ้างก็ลองเข้าไปเช็คกันดูที่นี่ครับ http://www.bangkokair.com/tha
วิธีเข้าประเทศเค้าจะทำยังไงบ้าง
ก่อนจะพาไปเที่ยว อยากแนะนำวิธีเข้าประเทศให้อ่านกันนิดนึงก่อนนะครับ เผื่อเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ
พศ.นี้จะไปเที่ยวพม่าเหมือนจะง่ายมากๆ ได้ยินจากคณะรัฐมนตรีที่ประชุมกันไปตั้งแต่ก่อนสภาจะยุบว่า
เราจะสามารถเข้าพม่าโดยไม่ต้องใช้วีซ่าได้แล้ว เป็นข้อตกลงร่วมกันในการเข้าสู่ AEC
แต่…เท่าที่เช็คกันจริงๆ ณ.ตอนนี้ 29 มค. 2557 ผมและคุณๆยังคงต้องใช้วีซ่าเข้าพม่าอยู่นะคร้าบบบ
จะด้วยเหตุผลกลใดก็แล้วแต่ ทริบถัดไปผมยังหวังว่าจะได้กลับไปพม่าโดยที่ไม่ต้องขอวีซ่าโดยเร็วไว
ตอนผมไป(ก่อนซีเกมส์ครั้งล่าสุดครับ )ยังต้องวิ่งไปขอวีซ่าที่สถานฑูตตรงถนนสาธรอยู่เลยสำหรับ Visa นักท่องเที่ยวของพม่า
ต้องไปเข้าคิวยาวและต้องใช้เวลาถึง 3 วันถึงจะได้ Visa กลับออกมา กับเงินที่เสียไปตกประมาณ 810 บาท
อ่อหนังสือ Passort ต้องมีอายุเหลืออย่างน้อย 6 เดือนนะครับ ไม่งั้นต้องไปทำใหม่ก่อนจะนำมายื่น
(มีแบบเร่งด่วนหนึ่งวันแต่ใช้เงิน 1,260 บาท,แบบ 2 วัน 1035 บาท )ประทับตราอนุญาติเข้าประเทศเค้าได้
หากใครจะไปสามารถทำเรื่องออนไลน์กันได้ทีนี้เลยครับ http://myanmar-visa.org/
แต่ก็ยังต้องไปรับอยู่ดียังไงลองอ่านดูกันก่อนจะได้เตรียมตัวกันได้นะครับ
ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ http://dustinmain.com/home/your-myanmar-lonely-planet-is-lying-to-you
เรื่องเงินจ๊าต
เงินจ๊าตมีค่าโดยประมาณ คือ 1บาทเท่ากับ 30 จ๊าต เวลาซื้อของก็ให้คิดง่ายๆ เค้าบอกเป็นเท่าไหร่ก็หารด้วย 30 ไว้เสมอครับ
และข้าวของบ้านเค้าราคามันจะเริ่มต้นที่ 500-1000 จ๊าต ถึงจะซื้ออะไรเป็นชิ้นเป็นอันได้ก็คือประมาณ 15-30กว่าบาทไทย
อ่ อบ้านเราอาจจะหาแลกเงินบ้านเค้ายากซักนิด แนะนำให้ไปแลกเป็นดอลล่า กันไว้ก่อน จากนั้นเข้าประเทศเค้าค่อยแลกเป็นจ๊าตกันอีกที แต่จะให้ดีไปแลกกับทัวร์เค้าได้เลย
เค้าจะมีเงินจ๊าตรอให้เราไว้แลกง่ายๆ อัตราแลกเผลอๆดีกว่าแลกจากบ้านเรามาด้วย นี้คือข้อดีของการไปเที่ยวแบบทัวร์ คือไม่ต้องเตรียมอะไรมากเค้ามีรอไว้ทุกอย่างแล้ว
เอาละกลับมาที่เส้นทางของเราต่อ ผมเริ่มต้นที่สุวรรณภูมิมาถึงเวลากำลังดี ทางทีมงานนัดเวลากันไว้ล่วงหน้ากว่า 2 ชั่วโมง
มา ถึง Checkin สบายๆครับ เลยแวะไปนั่งที่ Lounge ขอสายการบินที่ประกาศตัวชัดเจนเลยว่าเป็น Asia’s Boutique Airline บินกับบางกอกแอร์เวย์ ทีไรผมจะแวะมาเสมอ ชอบมากครับ
โดย เฉพาะข้าวต้มมัดในตำนาน 55 คืออ่านรีวิวที่แนะนำ Boutique Lounge ของบางกอกฯทีไร ใครๆก็พูดถึงเสมอ หนนี้ผมก็เลยตั้งใจจะมาชิมโดยเฉพาะ คราวก่อนพลาดไปเพราะหมดพอดี
บรรยากาศ Lounge ของเค้าก็น่านั่งน่านอนสบายๆ ใครหิวๆมา มีของหม่ำเอาอิ่มกันได้เลยนะครับ เผื่อเวลาสักนิด คุณจะได้ใช้บริการเค้าได้เต็มที่เลย
เน็ต เค้าก็มีให้เล่น ก่อนไปเลยแอบเทสเว็บดีๆ แบบนี้ซักหน่อย อิอิอิ (ไม่ค่อยโปรโมทเลยเนอะ 555)
หลัง ชิมจนพอใจดีแล้ว ผมเดินย้อนกลับมาที่ Gate ใกล้จะได้เวลาขึ้นเครื่องซักที ฟ้าฝน…เหมือนจะรู้ว่าเราจะไม่ได้เจอกันแล้วน่า
พระพิรุณเลยปล่อยฝนมาส่งพวกเราชุดใหญ่…
….พม่าจะเป็นยังไงน้อ ผมได้แต่นั่งมองปีกมองวิวด้านข้าง เมื่อเพดานบินอยู่สูงจนฝนไม่มีอีกต่อไป และก็…เผลอหลับไปจนได้
มิงกะลาบา… พม่า
ก่อนจะรู้จักวัดวาอารามต่างๆ มารู้จัก เมืองมัณฑะเลย์ แบบคร่าวๆกันหน่อย เวลาไปเองจะได้สนุกครับ ขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก Wikipedia นะคร้าบบบ
มัณฑะเลย์ (พม่า: မန္တလေးမြို့ หม่านดะเล้) เป็นอดีตเมืองหลวงราชธานีสุดท้ายก่อนจะเสียประเทศให้กับการรุกรานของอังกฤษ ในปี 2428
ที่นี้ถือเมืองใหญ่อันดับที่สามของพม่ารองจากนครย่างกุ้งและกรุงเนปิดอว์ ถูกตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่ปี 1857 ตั้งอยู่ในเขต
ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี ห่างจากย่างกุ้งไปทางทิศเหนือ 716 กิโลเมตร และพระเจ้ามินดงทรงย้ายราชธานี มาก่อตั้งเป็นเมืองหลวงราชธานีในปี ค.ศ. 2400
โดยพระเจ้ามินดง โดยตั้งชื่อตามภูเขามัณฑะเลย์ ที่อยู่ใกล้เคียง วงเวียนของเมืองมัณฑะเลย์
หลังเวลาผ่านไปเกือบสองชั่วโมง ผมหลับยาวไปจนเครื่องแตะพื้นประเทศพม่าแบบเบามากๆ จึงได้งัวเงียตื่น
คว้าสัมภาระ ทำเรื่องผ่านตม.ไม่นาน รถบัสขนาดกำลังดีก็พาคณะเรามาเริ่มต้นทริบกันที่นี่ “วัดชเวนันดอว์ (Shwenandaw)” หรือแปลว่า วัดมณเฑียรทอง
วัดนี้สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง เป็นวัดที่พระเจ้ามินดงทรงเสด็จมานั่งสมาธิ ปฎิบัติธรรม จนถึงตอนพระองค์เสด็จสวรรคต ดังนั้นวัดนี้จึงมีความสวยงามหลากหลายด้วยงานสถาปัตยกรรมแห่งมัณฑะเลย์ แน่นอนหากใครที่ชอบศิลปะงานไม้แกะสลักระดับสุดยอดในประวัติศาสตร์ของเมือง นี้ ถือเป็นวัดเดียวที่หลุดรอดพ้นการทำลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มาได้ จึงยังงดงามอยู่อย่างที่เห็นครับ
อ่อตามประวัติ วัดนี้ในภายหลังถูกตั้งเป็น วิหารในเวลาต่อมา จากพระราชโอรสคือ พระเจ้าสีป่อ หลังเสด็จขึ้นสืบราชสมบัติครับ ปัจจุบันจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่นักท่องเที่ยวเวลาที่มาเยือน มัณฑะเลย์ จะต้องแวะมากันแทบทั้งนั้น
ตาม ประวัติยังกล่าวต่อว่า วิหารแห่งนี้แต่ดั่งเดิมถูกสร้างขึ้นที่เมืองอมรปุระ ซึ่งเป็นราชธานีก่อนมัณฑะเลย์ ดังนั้นจึงเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในพม่า และเป็นประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งที่ชาวพม่ารุ่นหลังจะได้มีโอกาส ศึกษาศิลปะที่เคยเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคก่อน โดยเฉพาะผ่านชั่วเวลาที่อังกฤษเข้ามายึดพม่าเป็นอาณานิคมและทำให้วิหารและ วัดมากมายในมัณฑะเลย์เสียหายจากไฟสงคราม แต่วิหารแห่งนี้ก็ยังหลุดรอดปลอดภัยมาได้จนถึงชนรุ่นหลังในปัจจุบันครับ
ความงดงามของงานแกะสลักไม้ปรากฎอยู่ในทุกๆจุดของที่นี้ สวยจริงๆครับ
อิริยาบทสบายๆของแม่ชีที่แวะเวียนมาในวัดครับ ผมแอบถ่ายมาเห็นแสงสวยดีครับ
ภาพภายนอกของวัดดูขลังสมกับที่อยู่มานาน ผมรู้สึกดีใจที่ได้มาเยือนที่นี่จริงๆ ทริบนี้เริ่มต้นก็ประทับใจแล้วล่ะครับ
และ ที่น่าประทับใจอีกอย่างคือผู้คนครับ อย่างแม่ค้าขายมาลัยครับ เค้าอัธยาศัยดีมากๆไม่ซื้อก็ไม่วุ่นวาย ไม่ยัดเยียดให้เรา
คนพม่าจริงๆน่ารักน่าคุยด้วยครับ ภาษาอังกฤษก็ใช้ได้ทุกคนที่อยู่ในละแวกของย่านท่องเที่ยวนะครับแต่หากออกไปไกลจากแหล่งท่องเที่ยวก็ไม่แน่
วัดต่อมาที่ถือเป็นวัดสำคัญของชาวมัณฑะเลย์คือ วัดกุโสดอร์ ตามประวัติ เป็นวัดที่พระเจ้ามินดง สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 4 และพระองค์ทรงให้จารึกพระไตรปิฎก 84,000 พระธรรมขันธ์ ลงบนหินอ่อน 729 แผ่น ถือเป็นพระไตรปิฎกเล่มใหญ่ที่สุดในโลก และถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกพระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี และได้นำมาประดิษฐานในมณฑป อยู่รอบ “พระเจดีย์มหาโลกมารชิน”
ก่อน เข้าวัดจะมีสาวน้อยสาวใหญ่แปะแป้งทาหน้า ที่เรียกว่า “ทานาคา” มาขายดอกไม้พวงมาลัย เพื่อให้เราเข้าไปนัสการสิ่งศักดิสิทธิ์ข้างในวัดกัน ผมรู้สึกได้เลยว่าเค้าเคารพและศรัทธาในพุทธศาสนามากๆ เเม้แต่ของค้าของขาย เนื่องจากผมแวะซื้อกับน้องคนนี้ แล้วทำพวงมาลัยตกพื้น จังหวะที่ผมจะหยิบขึ้นมาเค้ายืนยันที่จะให้ผมทิ้งไปเลยไม่ต้องใช้แล้วหยิบ พวงใหม่ให้เลยทันที่ไม่คิดตังใดๆ ประทับใจมากๆครับ
จริงๆ
พวกเราหลายๆคนคงเคยเห็นสาวพม่าปะแป้งสีเหลืองอ่อนๆบนหน้ามาบ้างนะครับก่อนจะ ไปต่อ อยากเล่าเรื่องทานาคาซักหน่อย ทานาคาคือ สมุนไพรที่ชาวพม่ารู้จักกันมานานเป็น ไม้เนื้อแข็ง ขึ้นตามพื้นที่ภาคกลางของพม่า เช่น พุกาม มัณฑะเลย์ ชาวพม่าใช้ประโยชน์จากเปลือกของต้นทานาคาหั่นเป็นท่อน แล้วนำท่อนทานาคามาฝนกับแผ่นหิน ผสมน้ำลงไปด้วย เมื่อฝนได้สักพักจะได้ทานาคาผสมน้ำนำมาทาผิวหน้าและผิวกาย คุณสมบัติคือ เพื่อบำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอยเพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในเนื้อของไม้ ทำให้ไม่เป็นสิวฝ้า รักษาผิวพรรณให้ดูเด็กเสมอ เดินไปไหนในเมืองนี้เราจึงเจอสาวๆทาหน้าด้วยทานาคากันทั้งเมือง และยังประหน้าเป็นลวดลายสวยงามกันด้วย ใครอยากรู้ที่มาที่ไปผมแปะ Clip จากรายการ กบนอกกะลาที่เคยพาไปรู้จักที่มาไว้ให้แล้วลองชมกันดูได้นะครับ ได้ความรู้ละเอียดมากๆเลย เผลอๆสาวๆอาจจะเลิกใช้ครีมกระปุกแพงๆราคาหลายพันบาท หันมาใช้ ทานาคา แทนก็เป็นได้นะ ^ ^
กลับมาด้านใน เดินตรงเข้ามาจะเจอพระเจดีย์มหาโลกมารชิน ซึ่งจำลองรูปแบบมาจากพระมหาเจดีย์ชเวสิกองแห่งเมืองพุกาม มีความสูง 30 เมตร
ความสุกเปล่งปลั่งสีทองของเจดีย์สวยมาก ผมเห็นเจดีย์เมืองไทยสีทองอร่ามมาเยอะ เห็นของที่นี่ยังประทับใจเลยครับ
ระหว่าง ที่เดินเก็บภาพพักใหญ่ๆเจอใครก็ไม่รู้มาสะกิดหลังเรา หันมาเจอเด็กน้อยคนนี้จ้องเราตาแป๋วเลย หนูน้อยเค้าขายพวงมาลัยที่ร้อยเอง ราคาก็ไม่ได้แพงอะไรครับตีเป็นเงินไทยก็สิบบาทถึงยี่สิบบาท พอๆกับบ้านเราเลย น้องคนนี้ดังนะครับออกรายการทีวีของบ้านเรารวมถึงตามสื่อต่างๆเห็นอยู่บ่อยๆ เธอก็ดูคุ้นเคยกับกล้องและนักท่องเที่ยวไทยๆอย่างเราดีทีเดียวละ
หนูน้อยหันมาสู้กล้องโชว์ทานาคาลายใบไม้ จ้องผมตาไม่กระพริบเลย
ระหว่างเดินกลับออกมาผมจึงได้แวะชมพระไตรปิฎกที่อยู่ในมณฑบที่รายล้อมอยู่ทั่วไปหมด
นี่แหละครับ 1ในพระไตรปิฎกกว่า 84,000 เล่มที่แกะสลักอยู่บนหินอ่อนดังกล่าว และใช้เวลาของช่างในการแกะสลักทั้งหมดถึง 7 ปี
เจดีย์ในเวลายามเย็นใกล้จะหมดแสงแรกของวันนี้แล้ว และพวกเราก็ได้เวลาลาวัดนี้เหมือนกัน
แสงสุดท้ายใกล้จะหมดวันแล้วละครับ ยังเหลืออีกที่ๆเรายังไปไหว้กันได้อยู่…คงต้องกราบลาแล้วไปต่อ
มาต่อกันที่วัดคู่บ้านคู่เมืองมัณฑะเลย์อีกแห่งครับ ไม่ไกลกันเลยจากที่พักของเรา “วัดจอกต่อจี ”
ประวัติ ของวัดที่ค้นๆมาได้คือ พระเจ้ามินดงโปรดให้สร้างเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาล โดยจำลองแบบมาจาก “อานันทวิหาร ของพุกาม” พระประธานวัดนี้โปรดฯให้สร้างด้วยหินอ่อนสีขาวขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่สามารถ ชลอหรือย้ายมาได้จากเมืองสะกาย ซึ่งต้องใช้กำลังคนนับหมื่น ใช้เวลาล่องมาตามแม่น้ำเอยาวดี 13 วัน จึงสร้างสำเร็จในปี 2408 แล้วถวายพระนามว่า “พระมหาสากยมารชิน” และยังโปรดฯให้สลักพระอริยสาวก 80 องค์จากหินอ่อนสีขาว ประดิษฐานเหมือนบริวารโดยรอบอีกด้วย
ที่ นี่เป็นอีกที่ๆผมได้เห็นความศรัทธาในพุทธศาสนาของชาวบ้าน ตลอดช่วงเวลาที่ผมนั่งเก็บภาพอยู่จะเห็นผู้คนมากมายแวะเวียนมากราบไหว้สักกา ระไม่ขาดสาย
และ อีกเช่นกันเมื่อไหร่ที่ยกกล้องขึ้นมาถ่ายภาพผู้คน ก็มักจะได้รอยยิ้มแบบเขินๆ จากชาวบ้านเสมอ แทบไม่มีใครที่ปฎิเสธผมเลย น่ารักกันทุกคนเลย
และ มื้อค่ำวันนั้นเรามาจบที่โรงแรมที่ทางทัวร์จัดไว้ให้ หิวๆกันทุกคนครับ รสชาติอาหารที่นี่ไว้ใจได้ทุกมื้อ แม้แต่มื้อนี้ที่เป็นอาหารท้องถิ่นผสมกับอาหารไทยรสชาติก็ยังทานได้สบายมาก ครับไม่ต้องกังวล
และปิดท้ายด้วยการฟ้อนรำพร้อมๆกับละครหุ่นชักที่โรงแรมจัดหามาต้อนรับพวกเรา
นี่ละครับคล้ายๆบ้านเรานะผมว่า รวมๆจบวันแรกอย่างแฮ๊บปี้ครับ เดี๋ยวพาเข้าโรงแรมแล้วละนะถือเป็นโรงแรมที่ดีที่สุดแห่งนึงของเมืองเลย
ที่นี่ครับ Mandalay Hill โรงแรมระดับ 4-5ดาวของที่นี่
ห้องพักกว้างขวางสะดวกสบายดีไม่ต่างกับโรงแรมเกรดเดียวกันที่เมืองไทยนะครับ
หมอนเยอะเช่นกัน นอนกอดคนเดียวแบบนี้คิดถึงเด็กยักษ์กับแม่จ๋าเลยละ คืนนี้นอนหง่าวคนเดียวล่ะ
ห้องน้ำ ห้องท่าสะอาดสอ้านผ้าขนหนูก็เปลี่ยนใหม่สม่ำเสมอใครที่กังวลว่าเค้ายังไม่ เจริญเท่าบ้านเราจะมีที่พักดีๆไหมผมแนะนำที่นี้เลยนะครับ
คืนนั้นผมนอนหลับสบายแอร์เย็นถึงใจจนดึกๆต้องตื่นมาหรี่กันเลย
เดี๋ยวพาลงไปดูล็อบบี้สวยๆกันด้านล่างต่อครับ
เช้าวันถัดมาผมตื่นแต่เช้ามาเก็บภาพล็อบบี้ให้ชมกัน
ล็อบบี้ของโรงแรมกว้างขวางตกแต่งสวยงาม แม้จะไม่ใหญ่โตเท่าโรงแรมบ้านเราแต่ก็ถือว่าใช้ได้เลยครับ
มีมุมดนตรีพื้นบ้านคล้ายๆบ้านเรานั้นเลย
เลยมาด้านหลังมีสระว่ายน้ำใหญ่มากๆอยู่ผมเก็บภาพรอบๆสักพักก็ได้เวลาออกไปเที่ยวต่อแล้วล่ะ
และแล้วก็ได้มาเยือน…สะพานอูเบ็ง
ที่ แรกที่เราแวะมาก่อนเลยสำหรับผมถือเป็น Hilight ของทริบเลย เพราะได้ยินชื่อเสียงมานานแล้ว และแล้วผมก็ได้มาเห็นด้วยตาตัวเองกับ สะพานที่ทำจากไม้ที่ยาวที่สุดในโลก มีความยาวถึง 2 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในตอนใต้ของเมืองอมรปุระ ประเทศพม่า สร้างจากไม้สักที่รื้อมาจากพระราชวังเก่าแห่งกรุงอังวะ เมื่อครั้งย้ายเมืองหลวงจากอังวะ มายังอมรปุระจำนวน 1,208 ต้น เพื่อใช้ทำเป็นเสา
สะพาน นี้ ถือเป็นสะพานสัญจรไปมาของคนริมฝั่งแม่น้ำทั้งสองฝั่ง สะพานทอดข้ามทะเลสาบตองตะมาน มุ่งตรงไปยังเจดีย์เจ๊าต่อ ซึ่งอยู่อีกฟากของทะเลสาบ ชื่ออูเบ็งนั้นเป็นชื่อของขุนนางผู้หนึ่งที่พระเจ้าปดุงโปรดฯให้มาทำหน้าที่ เป็นแม่กองงานสร้างสะพาน ซึ่งตั้งอยู่ที่อมรปุระก่อนจะเข้าถึงตัวเมืองมัณฑะเลย์ เพราะงั้นตลอดวันเราจึงพบเห็นชาวบ้านเดินข้ามไปมาจากทั้งสองฝั่งได้ตลอด
และ ที่ไหนมีสิ่งปลูกสร้างจะขาดลายเซ็น ศิลปินก็ออกจะแปลกเกินไปจริงไหมครับ ผมพบเห็นไปทั่วสะพานเลย ทั้งเสาไม้ ทั้งขอบสะพานปูน หรือแทบทุกๆจุดจะมีคนมฝากรักกันผ่านสะพานนี้เต็มไปหมดเลย ที่ไหนๆในโลกนี้ก็คงเหมือนกันสำหรับคนรักการเขียนขีด นอกสถานที่แบบนี้ล่ะ ^ ^”
ตลอดแนวของสะพาน เราจะเจอชาวบ้านมานั่งหย่อนเบ็ดตกปลา เดินดูชาวบ้านแล้วได้คิด…ชีวิตมนุษย์เรา เรียบง่าย ไม่วุ่นวายได้แค่ไหนน้อ
คนกับสายน้ำ… ชื่นชอบชีวิตแบบ Slow Life ของที่นี่มากครับ ดูเรียบง่าย เนิบช้าบ้างไรบ้าง ใยต้องเร่งต้องรีบไปหมดล่ะ
อาชีพ เรือจ้าง กับสายน้ำเป็นอาชีพที่คู่กัน ผมจึงเห็นเรือจ้างมากมายสัญจรรอรับแขกให้ได้ลงไปชื่นชม สายน้ำใกล้ๆ เวลาจัดคิวเรือกันนี่อาจจะเป็นความวุ่นวายที่สุดของสายน้ำแห่งนี้แล้วล่ะ …
ที่ไหนมีคนที่นั้นย่อมมีการค้า คำใครสักคนบอกไว้ เพราะฉะนั้น
ตลอด เส้นทางของสะพานเราจะเจอแม้ค้าอารมณ์ดี คอยขายของที่ระลึก หรือสร้อยที่ทำด้วยฝีมือชาวบ้านรอยยิ้มแบบนี้ละครับที่สดใสและไม่เป็นพิษ เป็นภัยเสมอ
อย่างสาวน้อยคนนี้ขายภาพเขียน และของที่ระลึก เธอไม่เขินอายแต่อย่างใดที่จะมีภาพในกล้องผม แถมยิ้มหวานให้อีกต่างหาก
อย่าง นึงที่ทำให้ผมประทับใจ สาวๆพม่ามากคือวัฒนธรรมการแต่งกายที่ยังคงใส่ผ้าซิ่น กันแทบทั้งนั้นเดินไปมาในเมืองนี้หาสาวๆใส่กางเกงยากกว่าผ้าซิ่นเยอะเลย อยากให้บ้านเรารักที่จะใส่ชุดไทยกันบ้างจริงๆครับ ไม่ต้องใส่ทุกวันอย่างเค้าก็ได้ แต่เทศกาลพิเศษเช่น สงกรานต์ วันชาติ ไรแบบนี้อยากให้มีกันทั่วไปจังเนอะ รัฐบาลไหนน้อจะทำเรื่องนี้สำเร็จบ้าง
นี้ เป็นอีกสิ่งที่เจอบนสะพานนี้คือปูครับปูตัวใหญ่มากๆ กล้ามเป็นมัดๆ เลยเค้าเอาปลา ปูหอยมาทอดโดยมีสูตรของเค้าทอดออกมากลิ่นหอมมากๆ ปูก็น่ากินมากตกเฉลี่ยไม่ถึงตัวละ 30 บาทเลย ถกเกิ้นนน
จักรยาน เป็นพาหนะประจำตัวของคนพม่า เท่าที่เคยไปประเทศรอบๆบ้านเรามา เห็นเวียตนามกับที่นี่ละครับนิยมเจ้าสองล้อนี้เยอะสุดแล้ว เป็นอีกอย่างที่ชื่นชมคนที่นี่จริงๆครับ
หลัง จากเก็บภาพสะพานไม้อูเบ็งแล้ว เรานั่งรถต่อกันมาไม่ถึง 10 นาที ก็มาตักบาตรช่วงเพล ที่ วัดมหากันดายง (Mahagandayon) เป็นวัดใหญ่ที่สุดของพม่าที่เมืองอมรปุระ(Amarapura) วัดนี้ตั้งอยู่ริมทะเลสาบตองตะมาน อยู่ใกล้ๆกับ สะพานไม้อูเบ็ง ตอนมาถึงพระท่านตั้งแถวรอบิณฑบาตรกันแล้วผมวิ่งมาทั้งเก็บภาพและใส่บาตรเเทบ ไม่ทัน เลยได้ภาพ(ชัดๆ)มาไม่เยอะเท่าไหร่
ไกด์ของเราเล่าว่า ในทุกๆวันตั้งแต่ 10.30 น.เป็นต้นไป พระท่านจะเริ่มต้นตั้งแถวบิณฑบาตร เราจึงเห็นนักท่องเที่ยวจำนวนมาก
มาเก็บภาพและตักบาตรกันทุกวัน จนชินตา ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณมาเมืองนี้จะต้องมาทำบุญกันที่นี่
ขอ เล่าต่ออีกนิดเกี่ยวกับวัดนี้ วัดมหากันดายง เป็นวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดของพม่า มีภิกษุและสามเณรมาศึกษาเล่าเรียนทางธรรมกว่า 1,200 คน(บางข้อมูลบอกว่าปัจจุบันมีอยู่ถึง 1,600รูปแล้ว) มีทั้งคนพม่า คนมอญ รวมถึงชาวต่างชาติทั้งเอเชียวและยุโรบที่สนใจในพระธรรมคำสอน ต่างมาบวชเรียนอยู่ที่นี่
อีก เหตุผลนึงที่คนพม่าเองก็ชอบส่งลูกหลานของตนมาศึกษาที่นี่ก็เพราะวิทยาลัย สงฆ์แห่งนี้เป็นสถานที่ศึกษาพระธรรมและรักษาพระธรรมวินัยที่เข้มมากที่สุด อย่างในภาพนอกจากพระแล้วชีก็มีเหมือนกันครับ ชีที่นี้ไม่เหมือนเมืองไทยจะนุ่งหมผ้าสีชมพูไม่ใช่ขาวแบบบ้านเรา
หลัง ตักบาตรกันเสร็จ เรามาต่อกันที่ๆนักท่องเที่ยวหากมาเมืองนี้ทัวร์เค้าพาแวะแน่นอน คือร้านขายผ้าและของที่ระลึก ที่นี่เค้าจะขึ้นชื่อเรื่องงานทอผ้าด้วยมือ และอีกงานคืองานแกะสลักไม้ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสะพานอูเบ็งนัก เรามาดูงานผ้ากันก่อนตัวผมเองไม่ได้สนใจผ้าที่สำเร็จมากเท่ากับการได้มาดู งานโรงทอของเค้า ที่นี่คนทำงานมีทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่หนุ่มสาวไปจนยังผู้สูงวัย
สาวๆ ก็ยังใช้ฝีจักร์เย็บกันอยู่ดูที่รายละเอียดของลายผ้าก็ดี หรือเนื้อผ้าก็ดี อาจจะยังสู้ไทยหรืออินเดีย ที่ผมเคยไปมาแล้วไม่ได้แต่เรื่องความตั้งใจและความอดทนในการทำงาน ถือว่าไม่มีใครกินกันได้เลย
(ทริบ อินเดียใต้ เชนไน อ่านกันได้ที่นี่เลยครับ http://s.one22.com/18EOU6s)
งานแบบนี้ที่ผ่านมาผมเห็นบ้านเรายกให้ผู้หญิงเป็นแม่งานแทบทั้งนั้นแต่ ที่นี่พม่า คนหนุ่มสาวก็ยังเห็นทำกันอยู่มากมายเลย
และ ที่ผมเอะใจแต่ไม่ได้แปลกใตมากนักคือ ผมมักจะเห็นสถานที่ทำมาค้าขายของเค้าหลายแห่งมักจะโชว์รูป วีรสตรีของเค้าอยู่ทั่วไปหมดแม้แต่ที่นี่ก็ตาม เห็นแบบนี้นึกถึงบ้านเรา เวลาไปร้านขายของหรือร้านอาหารดังๆเค้ามันจะเอารูปดารา นักร้องที่แวะมาร้านเค้าแขวนอยู่เต็มผนัง ที่นี่ อองซาน ซูจี คงเข้าไปนั่งอยู่ในใจของคนพม่าแทบทั้งนั้นแล้วแน่ๆครับ
ทริบช่วงเช้าของพวกเรามาจบลงที่ร้านนี้ครับ ชื่อร้าน ต้มยำกุ้ง 2 คาดว่าไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับพี่จาพนมแต่อย่างใด นะฮ๊าฟฟฟ ^ ^
ร้าน นี้เป็นร้านของคนไทยที่ไปเปิดไว้ที่พม่า และเปิดมา 2 สาขาแล้ว ร้านนี้ทั้งคนไทยคนพม่านิยมมาทานกันมาก อย่างว่าอาหารไทยไม่แพ้ชาติใดในโลกจริงไหมครับ
ทุกเมนูผมไม่ต้องบอกชื่อก็เดากันได้ไม่ยาก อาหารไทยรสชาติไทยสุดๆหากินได้ที่นี่ไม่ต้องกังวลเลยว่าจะไม่จัดจ้าน รสชาติดีมากครับ
ตบท้ายด้วยของหวานคุ้นๆอีกเช่นกันอร่อยเหมือนกินอยู่บ้านเราเลย
นี่ละครับ โฉมหน้าแม่ครัวใหญ่คนไทย ที่ดูแลอาหารและสูตรต่างๆให้ตรงตามแบบบ้านเราทุกกระเบียดนิ้วจึงไว้ใจได้เลย
มาต่อกันที่ร้านของฝากประเภทไม้และงานแกะสลักดูบ้าง ครับงานไม้ของพม่าคนไทยมาเห็นแล้วจะแอบอิจฉา เพราะวัตถุดิบเค้าเยอะและเยอะมากกก
งานตุ๊กตาไม้ หุ่นชัก ทั้งหลาย เป็นงานที่นักท่องเที่ยวนิยมซื้อเป็นของฝากมากที่สุด
งาน แกะไม้เค้าจะชิ้นใหญ่และเน้นประเภทแกะจากไม้ทั้งชิ้นเลย หาจุดเชื่อมยากมาก บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของวัตถุดิบที่เยอะและใหญ่แน่นอน เห็นแล้วนึกถึงประเทศเราเมื่อ รุ่นพ่อรุ่นแม่
ที่เมื่อก่อนเราก็ยังมีวัตถุดิบแบบนี้อยู่เยอะเลยก่อนจะหายไปเยอะในปัจจุบันนี้
มา ต่อกันที่ของฝากยอดนิยมอีกอย่าง จะเรียกว่าเป็นของฝากดีไหมเพราะจริงๆเรามักจะซื้อไปใช้เลยมากกว่าจะเก็บนะ ครับ คือโรงตีทองแผ่น ที่เห็นคือพนักงานตีทองที่ขะมันขะเม้นกันทำงาน
เดินเข้าไปได้ยินเสียงทุบทองกับปึกๆๆตลอดเลย
ที่นี่ดังใช้ได้ผมเห็นมีภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเทพฯแขวนอยู่ด้วย แสดงว่าที่นี่เป็นอีกที่ๆรองรับแขกบ้านแขกเมืองของมัณฑะเลย์ครับ
ทองคำ เปลวที่นี่ขึ้นชื่อระดับที่ไกด์บอกว่า 50%ของทองคำเปลวที่นำไปปิดที่วัดล้วนมาจากที่นี่ครับ เวลาขายเค้าก็ขายเป็นนำหนักไปมีตาชั่งให้ชั่งเสร็จสรรพ
มา ถึงหนึ่งในจุด Hilight อีกแห่งของวันนี้ครับ “พระราชวังมัณฑะเลย์”มาถึงบ่ายแก่ๆแล้วครับ แนะนำว่าจะมาที่นี่ให้มาถึงหลัง บ่าย 3-4 โมงไปแล้วนะครับไม่งั้นตากแดดกันเกรียมแน่ๆ
พระราชวังนี้มีประวัติน่าสนใจเหมือนกัน ค้นๆมาให้รู้จักกันครับ
พระ ราชวังมัณฑะเลย์ ถูกก่อสร้างขึ้นมาโดยพระเจ้ามินดง หลังการย้ายเมืองหลวงจากอมระปุระมายังมัณฑะเลย์ เพื่อหนีทหารของจักรวรรดิอังกฤษ ระหว่างสงครามพม่า-อังกฤษ ตามความเชื่อ
เป็น พระราชวังที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ได้ชื่อว่ามีความงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย มีคูน้ำรอบพระราชวังและประตูที่ยิ่งใหญ่
และเป็นพระราชวังที่สุดท้าย ของพระเจ้าธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์คองบอง ในประวัติศาสตร์พม่า เมื่ออังกฤษเข้ายึดครองพม่าในสงครามโลกครั้งที่สอง
ทางอังกฤษคิดว่า พระราชวังนี้เป็นแหล่งซ่องสุมของทหารญี่ปุ่น จึงได้ทำลายพระราชวังเสียด้วยการทิ้งระเบิดจากเครื่องบิน พระราชวังตกอยู่ในความเสียหายมาโดยตลอด
จนปัจจุบันได้รับการบูรณะโดยรัฐบาลพม่า โดยการลอกแบบโครงสร้างเดิม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของมัณฑะเลย์
ขึ้นมาก็ต้องเก็บภาพกันหน่อยครับ
หนูน้อยคนนี้แม่เค้าเห็นเราถือกล้องเลยขะยั้นขะยอให้เก็บภาพเราก็เลยจัดไปให้ เด็กๆดูจะชอบการขึ้นหอคอยมากนะครับ
หัน ไปซ้ายขวาหน้าหลังมอง วิวบนนี้เห็นพระราชวังได้หมดเลย แล้วที่น่าทึ่งคือต้นไม้ครับเป็นอดีตเมืองหลวงที่ร่มรื่นเหลือเกิน บ้านเมืองเค้ายังรักษาธรรมชาติที่สมบูรณ์ไว้ได้ดีมากๆครับ
หลังจากออกจากพระราชวังเรามุ่งหน้าตรงมาปิดทริบของวันนี้ที่นี่เลยครับ มัณฑะเลย์ฮิลล์ (Mandalay Hill)
ใครๆ มาเมืองนี้ไม่ขึ้นมาบนนี้เค้าว่าเหมือนยังมาไม่ถึงมัณฑะเลย์นะครับไปมาไม่ ยากเลย ตั้งอยู่กลางเมืองมัณฑะเลย์ สูง 236 เมตร ปากทางขึ้นมารูปปั้นสิงห์ขนาดใหญ่สองตัว(คล้ายๆกับที่พุกาม หรืออย่างที่เราเคยเห็นเป็นฉากนึงในหนังอย่าง พระนเรศวรมหาราชทุกๆภาค) ระหว่างทางมีปูชนียสถานให้สักระบูชาเป็นระยะๆ หากว่าใครไม่อยากเดินขึ้นก็สามารถนั่งรถสองแถวขึ้นบนยอดมัณฑะเลย์ได้เลย (ท่ารถอยู่เชิงเขาทางขึ้น) โดยไม่ต้องเดินขึ้นบันได 7,292 ขั้น แต่ก็จะไม่ผ่านจุดชมที่หนึ่งและจุดชมที่สอง นักท่องเที่ยวบางคนจึงใช้วิธีขึ้นรถไปจนถึงจุดชมวิวบนยอดเขา แล้วเดินทางกลับลงบันไดก็ได้
จริงๆ บนเขานี้มีจุดชมวิวเป็นระยะๆอย่างที่ค้นๆข้อมูลมาฝากกัน แต่ที่ผมว่าน่าตื่นตาและถือเป็น Hilight เลยก็คือบนชั้นบนสุด ชั้นที่สาม บนยอดเขามัณฑะเลย์ มีวิหาร “ซูตองพญา” รูปทรงคล้ายมณฑปครอบพระมหามัยมุนี
ภาย ใต้วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ทิศ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมน์ พระกัสสป และพระสมณโคดม
รายรอบก็มีความงดงามของงานศิลปะของพม่า ผมเดินเก็บภาพรอบๆจนถึงช่วงเวลาสำคัญคือพระอาทิตย์อัศดงค์
รอบ วิหารมีระเบียงสำหรับชมทัศนียภาพเมืองมัณฑะเลย์ และสามารถมองเห็นแม่น้ำอิระวดี พระบรมมหาราชวัง วัดกุโสดอว์ ได้เลยเรียกว่าเห็นทั้งเมืองมัณฑะเลย์ได้ทุกทิศเลยครับ
ช่วงเวลาที่รอคอยมาถึงการเก็บภาพพระอาทิตย์ ในวินาทีท้ายๆของวันเป็นความงดงามที่น่าประทับใจครับและวันนั้นอากาศก็เป็นใจ ให้ได้เจอ
วินาทีที่ๆสำคัญของทุกๆวัน ยิ่งอยู่บนนี้ด้วยยิ่งงดงามเป็นพิเศษครับ
พระจันทร์ เราก็เห็นได้บนนี้เช่นกัน ผมเก็บภาพนี้สุดท้ายและเป็นคนสุดท้ายของกลุ่มเรา หันมาอีกทีทุกคนหายไปหมดเบยยย วิ่งลงแทบไม่ทันเลยครับ ^ ^”
เช้าสุดท้าย…03.00น.
วัน นี้ผมถูกปลุกด้วยนาฬิกาปลุกตั้งแต่ตี 3 ผมรีบตื่นสลัดความง่วง ออกให้เร็วที่สุด เพื่อลงไปรวมพลหน้าโรงแรม เหตุเพราะทริบมันเริ่มขึ้นแล้วทริบตั้งแต่ไก่ยังไม่ขันนี้ เพื่อมายังสถานที่สำคัญสุดท้ายของทริบมาหาบุญครั้งนี้ เรามายังวัดสำคัญที่สุดของเมืองมัณฑะเลย์ก็ว่าได้ มาเพื่อนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 5 มหาบูชาสถานสูงสุดของชาวพม่า ที่ใครมาพม่าควรจะต้องมาให้ครบ และ 1ในนั้นอยู่ที่นี่แล้ว ก็คือ” พระมหามัยมุนี ” (Mahamuni Pagoda) เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่บ้านของพม่า
จะ เชื่อหรือไม่เรามาถึง ประมาณก่อน ตี 4 ได้ซัก ครึ่งชั่วโมง เหตุผลที่ทำให้เราต้องมาเช้าขนาดนี้ก็เพราะ หากคุณมาช้าไปซักครั้งชั่วโมง ผู้คนจำนวนมากมายมหาศาลทั้งคนพม่าเองและนักท่องเที่ยวก็จะมารอเข้าคิว เพื่อร่วมใน “พิธีล้างหน้าพระ” กันแบบนี้อย่างในภาพเลยครับ ภาพนี้ผมถ่ายหลังจากพิธีเก็บเสร็จสิ้นแล้ว คนมาจากไหนหนอ มากมายมหาศาลกันขนาดนี้
ประมาณ ตี 4 ในทุกๆวัน ประตูสีทองอร่ามแห่งนี้ก็จะเปิดออกเพื่อเผยให้ชาวพุทธทุกคนได้มีส่วนร่วม พิธีล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี พิธีนี้สืบต่อกันมายาวนานกว่า 200 กว่าปีในทุกๆวัน
สำหรับ ชาวพุทธในพม่าแล้ว การได้มาเข้าร่วมพิธีล้างหน้าพระถือเป็นบุญใหญ่ที่สำคัญของชาวพม่าก็ว่าได้ พระมหามัยมุนีแปลว่า “ผู้รู้อันประเสริฐ”
“พระ มหามัยมุนี” เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของพม่า เปรียบได้กับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งก็เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย และเป็นหนึ่งในห้าศาสนวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ของพม่า (ที่เหลือเป็นเจดีย์ทั้งหมด) ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระพุทธรูปถูกสร้างขึ้นในสมัยพุทธกาล โดยพระเจ้าจันทสุริยะ กษัตริย์ของเมืองยะไข่เป็นผู้สร้าง ท่านทรงพระสุบินว่า พระพุทธเจ้าทรงเสด็จมาประทานพรให้พระพุทธปฏิมาองค์นี้ และให้เป็นตัวแทนของพระองค์ เพื่อเป็นเครื่องสืบพระศาสนาต่อไปในภายหน้า
ใน อดีต แม้เมืองยะไข่จะถูกโจมตีโดยกษัตริย์เมืองอื่นที่ทรงแสนยานุภาพอย่างไร ก็ไม่อาจที่จะเคลื่อนย้ายองค์พระมหามัยมุนีนี้ออกจากเมืองได้ ต้องมีเหตุให้ขัดข้องทุกครั้งไป
จน กระทั่งถึงรัชสมัยพระเจ้าปดุง แห่งราชวงศ์คองบอง สามารถตียะไข่ได้ และได้อัญเชิญพระมหามัยมุนีออกจากยะไข่ โดยนำล่องมาตามแม่น้ำอิระวดีมายังเมืองมัณฑเลย์ได้สำเร็จ พระมหามัยมุนีจึงได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองมัณฑเลย์เป็นการถาวรนับแต่นั้น เป็นต้นมา
ด้วย ความเชื่อว่า พระพุทธมหามัยมุนี นี้เป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต เพราะด้วยเหตุที่ได้รับประทานพร (บางตำนานก็เล่าว่าได้รับประทานลมหายใจจากพระพุทธเจ้า) จึงมีประเพณีล้างพระพักตร์ถวาย โดยทุกเช้า เวลาประมาณ 04.00 น. (ตี 4) พระมหาเถระ (เจ้าอาวาสของวัด)และสาธุชนทั่วไปที่ศรัทธาจะมาทำพิธีล้างพระพักตร์ด้วย น้ำอบน้ำหอม ผสมทานาคาอย่าง ดีพร้อมกับใช้แปรงทองแปรงที่พระโอษฐ์เสมือนหนึ่งแปรงพระทนต์ถวายพระพุทธเจ้า
ก่อนจะใช้ผ้าจากศรัทธาสาธุชนถวายมาเช็ดจนแห้งสนิท
และสุดท้ายก็ใช้พัดทองโบกถวายเป็นอันดีเสมือนหนึ่งได้อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าที่ยังทรงพระชนมชีพอยู่จริง ๆ
ทองคำที่เราซื้อมาจากที่โรงตีทองก็ได้ใช้ตอนนี้ละครับ
อย่าง ที่เห็นด้วยศรัทธาของคนพม่าต่างก็มาเพื่อปิดทองคำเปลวลงบนส่วนต่างๆขององค์ พระมหามัยมุนีมีการปิดทองซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเป็นรอยย่นตะปุ่มตะป่ำไปทั้ง พระองค์ พิธีทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 1 ชม หลังจากนั้นจึงจะเปิดให้คนทั่วไป สามารถที่จะเข้าไปปิดทององค์พระท่านได้ (ยกเว้นผู้หญิงที่ไม่สามารถสัมผัสองค์พระได้) ส่วนผู้หญิงให้อธิษฐานผ่านแผ่นทองแล้วฝากผู้ชายเข้าไปปิดได้เท่านั้นครับ
ซึ่ง หากเอานิ้วกดลงไป ก็จะรู้สึกได้ถึงความอ่อนนิ่มของทองคำเปลวที่ปิดทับซ้อนกันนับเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ ชั้น ตลอดระยะเวลาเนิ่นนานกว่าศตวรรษ ทำให้พระมหามัยมุนีมีอีกพระนามหนึ่งว่า “พระเนื้อนิ่ม”
และ ด้วยทองคำที่ปิดทับกันมานานขนาดนี้ บางครั้งก็เกิดเป็นขี้ทองเกิดขึ้นในทุกๆเช้าจึงมีเจ้าหน้าที่คอยมาขัดพื้น ผิดทองคำให้สุกสว่างเสมอ
ศรัทธาของชาวพม่าใครมาก็จะสัมผัสกันได้ไม่ยากเลยทีเดียว ทุกคนจะมากราบไหว้อธิฐานขอพรกันแบบนี้นับศตวรรษแล้ว
แต่ น่าแปลกที่ว่า แม้จะมีการปิดทองซ้ำแล้วซ้ำอีกจนองค์พระใหญ่ขึ้นเพียงใดก็ตาม แต่พระพักตร์ขององค์พระมหามัยมุนีก็ยังแลดูใหญ่ตามองค์พระอย่างน่าอัศจรรย์ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีการปิดทองที่พระพักร์ขององค์พระเลยแม้แต่น้อย
หลัง กลับมาที่โรงแรมผมมีโอกาสเดินเล่นหน้าโรงแรมคาดหวังว่าจะได้เจอพระท่านเดิน ผ่านมาบิณฑะบาตร์ และไม่นานก็ได้เจอครับ ที่นี่ยังคงเคร่งครัดในคำสอนของพระพุทธเจ้า
นอกจาก พระแล้วแม่ชีที่นี่ก็ออกบิณฑบาตรได้เช่นกัน เราจึงเห็นแม่ชีถือบาตรชี ออกบิณฑบาตรเช่นกัน ผมเก็บภาพเหล่านี้ไว้ในความทรงจำอย่างดี นับเป็นประสบการณ์ที่แสนจะประทับใจไม่รู้ลืม
หลัง จากนี้เรากลับไปหม่ำอาหารเช้าของโรงแรมกัน และมีเวลาพักผ่อนอีกพอควร ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยอาหารมื้อสุดท้ายของทริบนี้ที่ร้านอาหารไทยที่มีชื่อ เสียงโด่งดังข้ามเมืองกันเลยถึงขนาดว่า
ใครมาเมืองนี้ไม่มาชิมอาหารไทยร้านนี้ถือว่ายังไม่รู้จักของอร่อยจริงครับ ว่ากันขนาดนั้นเลย เอ้าๆๆไปดูไปชิมกันดีกว่านะ
ประมาณ11 โมงกว่าเราก็มาถึงร้านนี้ “Ko’s Kitchen” ร้านอาหารไทยตำรับแท้แบบดั่งเดิม
ร้านนี้อยู่แถวๆ พระราชวังมัณฑะเลย์ครับ ร้านนี้ผมยกให้สมกับที่เป็นร้านปิดท้ายทริบจริงๆ อร่อยสุดๆแบบห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง
แกงไก่รสชาติกำลังดีแต่เข้มข้นด้วยพริกแกง อร่อยครับทานกับข้าวสวยร้อนๆหอมมะลิอย่างดี อร่อยสุดๆ
แต่ ทีเด็ดอยู่ที่เมนูนี้ กุ้งแม่น้ำตัวใหญ่มากๆ ยอมรับเลยครับว่ากุ้งแม่น้ำของพม่ารสชาติอร่อยจริงๆ ตัวก็ใหญ่มาก แว่วๆว่าไม่ใช่กุ้งเลี้ยงด้วยน่าไม่รู้จริงหรือเท็จนะครับ
เจอกับน้ำจิ้มซีฟู้ดรสจัดเข้าไปจอดป้ายกันทุกราย วันนั้นทีมสื่อของเรา Enjoy Eating กันสุดๆเลย
เมนูน้ำพริกกะปิก็รสเลิศ เผ็ดเปรี้ยวแบบถึงบ้านเราตั้งแต่อยู่ในร้านกันเลยครับ
ต่อๆๆด้วยกุ้งทอดกระเทียมอร่อยมากๆเช่นกัน
ร้าน นี้วิวงามใช่ย่อย ฝั่งตรงข้ามเป็นพระราชวังมัณฑะเลย์ และวันนั้นก็เป็นวันที่วิวตรงนี้งดงามมากที่สุดด้วย ดั่งใครบอกไว้อีกเช่นกันว่า อะไรดีๆมันจากมาท้ายสุดเสมอ อันนี้ผมเชื่อจริงๆนะครับ
ก่อน กลับพวกเราอยากซื้อขนมของฝากกลับบ้านกัน ผมไม่รู้จริงๆว่าตำแหน่งร้านนี้อยู่ตรงไหนแต่ที่แน่ๆ ร้านนี้ ฮิตแบบสุดๆ คนพม่ามาเข้าคิวกันแน่นเอี๊ยดทีเดียว
เรียก ว่าเบียดเสียดกันมาเพื่อซื้อขนมร้านนี้ เห็นแล้วปลื้มแทน ร้านนี้เป็นร้านขนมพม่าแบบดังเดิม หากเทียบเป็นบ้านเราก็เหมือนร้านขนมหมอแกง ทองหยิบ ทองหยอดไรแบบนั้นละครับ
ขนม เค้าเท่าที่ชิมดูมีความคล้ายคลึงกับขนมบ้านเราเช่นกัน มีส่วนผสมของมะพร้าวคล้ายๆกัน และที่สำคัญอร่อยด้วยครับ ผมซื้อกลับมาบ้านหลายอันเหมือนกัน เรียกว่าเงินจ๊าตที่แลกตอนลงเครื่องกับไกด์มากหมด ณ.ตรงนี้ละครับ จากนั้นรถทัวร์ของเราก็มุ่งหน้ากลับมาส่งที่สนามบินเพื่อพาเรากลับไปยังบ้าน ที่ห่างหายมา 3วัน
ต้อง ขอขอบคุณสายการบินบูทีคแอร์ไลน์ Bangkok Airways อีกครั้งในการพาเรามาอย่างดี และพาเรากลับอย่างสบายๆ ทริบนี้เป็นทริบสื่อที่สบ๊าย สบายมาก ครบถ้วนทุกอย่างในการเปิดเมืองมัณฑะเลย์ให้ เราได้รู้จัก
ส่วน ตัวผมว่าเป็นทริบที่กำลังดี 3วัน 2 คืนกับทริบไหว้พระทำบุญ และที่สำคัญได้เปิดหูเปิดตากับประเทศใหม่ๆอย่างพม่า เพื่อนบ้านของไทยที่ใช้รั้วร่วมกันมานับร้อยๆปีแล้ว
หากใครสนใจทริบนี้ จริงๆ ผมมีplan การเดินทางมาให้ดูเป็นการสรุปเส้นทางทั้งหมด คุณๆสามารถใช้plan นี้ได้เลย หรือหากคิดว่าไม่สะดวก ทางสายการบินก็มีทัวร์ให้รองรับไว้อยู่
ระหว่างนั่งกลับบ้าน ผมเหลือบไปเห็น ครอบครัวชาวพม่าน่ารักๆ ที่เจ้าตัวเล็กกำลังโยเยทีเดียว น่าจะหูอื้อเพราะการไต่เพดานบิน ผมเลยยื่นขนมให้เด็กเคี้ยวเพื่อให้บรรเทาอาหารหูอื้อได้
การเคี้ยวช่วยปรับระดับความดันในหูของเราให้สามารถปรับไปตามความสูงของเพดานบินของเครื่องนะครับ
แม่ของหนูน้อยหันมากล่าวขอบคุณเป็นภาษาพม่า และส่งยิ้มกลับมาให้
ครอบครัวหนูน้อยนี้นาจะเป็นตัวแทนชาวพม่าได้เป็นอย่างดี
ถึงความใสซื่อ … ความเรียบง่าย… และเป็นกันเองของผู้คน
ทำให้ผมเองอาจจะไม่ลืมได้ง่ายๆเลย
และ….สุดท้าย ที่เห็นเสมอในทุกๆที่ๆเดินทางไป นั้นคือ ความเป็นพุทธศาสนิกชนที่เข้มแข็ง มั่นคงด้วยศรัทธาและดำรงค์ไว้ซึ่งศรัทธาแห่งพระพุทธศาสนา
จนผมเองบางครั้ง อาจจะหลงลืมไปตามความเจริญของวัตถุรอบตัวเรา
……………………………………………………………….
หาก ใครมาถามผมว่าพม่าน่าเที่ยวไหม น่าไปไหม คนเค้าน่ากลัวรึเปล่า ผมคงยิ้มอย่างเปิดเผยที่สุด และคงรีบเริ่มต้นเล่าทริบนี้ให้ผู้คนได้ฟัง….อย่างมีความสุขครับ
ที่ ทำต่อมาคือจะรีบเปิดรีวิวนี้ให้เค้าได้อ่านดู และเชื่อว่าบันทึกการเดินทางฉบับนี้ คงจะสร้างรอยยิ้มเล็กๆ ที่มุมปากของคุณทุกคนได้บ้างนะครับ
โชคดี จนกว่าจะได้พบกันใหม่ทริบหน้าครับ …